วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พลังงานในชีวิตประจำวันและการอนุรักษ์

พลังงานในชีวิตประจำวันและการอนุรักษ์


1. พลังงานไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้า หมายถึงพลังงานรูปแบบหนึ่งซึ่งสามารถเปลี่ยนไปเป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งได้ เกิดจากแหล่งกำเนิดหลายประเภท ซึ่งการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้จะต้องมีการเชื่อมต่อแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเข้ากับสิ่งที่จะนำพลังงานไฟฟ้าไปใช้ เรียกว่า วงจรไฟฟ้า โดยพลังงานไฟฟ้าที่ได้ก็จะถูกเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานรูปแบบต่างๆ เช่น พลังงานกล พลังงานความร้อน พลังงานเสียง พลังงานแสง เป็นต้น

แรงและการเคลื่อนที่ของแรง

แรงและการเคลื่อนที่ของแรง

          แรง หมายถึง อำนาจภายนอกที่สามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนสถานะได้ เช่น ทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่ไป ทำให้วัตถุที่เคลื่อนที่อยู่แล้วเคลื่อนที่เร็วหรือช้าลง ทำให้วัตถุมีการเปลี่ยนทิศตลอดจนทำให้วัตถุมีการเปลี่ยนขนาดหรือรูปทรงไปจากเดิมได้ แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ที่มีทั้งขนาดและทิศทาง การรวมหรือหักล้างกันของแรงจึงต้องเป็นไปตามแบบเวกเตอร์

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การแยกสาร


การแยกสาร

               สารต่าง ๆ มักอยู่รวมกับสารอื่น ๆ ในรูปของสารเนื้อเดียว หรือสารเนื้อผสม ถ้าต้องการสาร
เพียงชนิดเดียวเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ อาจทำได้โดยแยกสารออกมาโดยอาศัยสมบัติเฉพาะตัวของ
สาร การแยกสารเนื้อผสมที่ไม่เป็นเนื้อเดียวทำได้โดยใช้วิธีการทางกายภาพ เช่น หยิบออก ร่อนด้วย
ตะแกรง ใช้แม่เหล็กดูด การแยกสารที่เป็นเนื้อเดียวอาจแยกได้โดยการระเหยจนแห้ง

สารและสมบติของสาร

สารและสมบัติของสาร


ความหมายของสาร
สาร หมายถึง สิ่งที่มีตัวตน มีมวล ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ สารแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะตัว หรือ สมบัติของสาร ซึ่งแตกต่างจากสารอื่น เช่น น้ำมีจุดเดือดที่ 100 องศาเซลเซียสกรดมีรสเปรี้ยวแอลกอฮอล์ติดไฟได้ เป็นต้น

ระบบนิเวศ




1. ความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น
ระบบนิเวศ (Ecosystem) หมายถึง ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดในโลกเรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิต


สิ่งมีชีวิต

1. ลักษณะและการจัดกลุ่มของสิ่งมีชีวิต
          ลักษณะของสิ่งมีชีวิต
สิ่งต่าง ๆ ที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป ทุกคนคงสามารถแยกได้ว่าสิ่งใดเป็นสิมีชีวิต ซากของสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งนี้เพราะสิ่งมีชีวิตจะต้องมีลักษณะ และกระบวนการของชีวิต ดังนี้
1. การกินอาหาร สิ่งมีชีวิตต้องการอาหารเพื่อสร้างพลังงาน และการเจริญเติบโต โดยพืชสามารถสังเคราะห์อาหารขึ้นเองได้ด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งต้องใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เปลี่ยนน้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นน้ำตาล ส่วนสัตว์ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ต้องกินพืช หรือสัตว์อื่นเป็นอาหาร

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี


กระบวนการทางวิทยาศาสตร์



ความหมายและความสำคัญของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาหาความรู้เรื่องราวหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างมีระบบขั้นตอน
โดยใช้กระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์