วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การแยกสาร


การแยกสาร

               สารต่าง ๆ มักอยู่รวมกับสารอื่น ๆ ในรูปของสารเนื้อเดียว หรือสารเนื้อผสม ถ้าต้องการสาร
เพียงชนิดเดียวเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ อาจทำได้โดยแยกสารออกมาโดยอาศัยสมบัติเฉพาะตัวของ
สาร การแยกสารเนื้อผสมที่ไม่เป็นเนื้อเดียวทำได้โดยใช้วิธีการทางกายภาพ เช่น หยิบออก ร่อนด้วย
ตะแกรง ใช้แม่เหล็กดูด การแยกสารที่เป็นเนื้อเดียวอาจแยกได้โดยการระเหยจนแห้ง


สารเนื้อเดียว หมายถึง สารที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อนำส่วนใดส่วนหนึ่งไปทดสอบจะมีสมบัติเหมือนกัน เช่น น้ำกลั่น น้ำโซดา น้ำเชื่อม น้ำเกลือ เป็นต้น
สารเนื้อเดียวมีได้ทั้ง 3 สถานะ คือ
1.สารเนื้อเดียวสถานะของแข็ง เช่น เหล็ก ทองคำ ทองแดง สังกะสี อะลูมิเนียม นากทองเหลือง หินปูน เกลือแกง น้ำตาลทราย
2.สารเนื้อเดียวสถานะของเหลว เช่น น้ำกลั่น น้ำเกลือ น้ำส้มสายชู น้ำอัดลม น้ำมันพืชน้ำเชื่อม น้ำนม
3.สารเนื้อเดียวสถานะแก๊ส เช่น อากาศ แก๊สหุงต้ม แก๊สออกซิเจน แก๊สไนโตรเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
สารเนื้อผสม หมายถึง สารผสมที่ไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน สามารถมองเห็นสารเดิมได้ด้วยตาเปล่า สารแต่ละชนิดจะมีสมบัติของสารแตกต่างกัน เช่น น้ำแป้ง น้ำโคลน ยาเคลือบกระเพาะ เป็นต้น
สารเนื้อผสมมีได้ทั้ง 3 สถานะ เช่น
1. สารเนื้อผสมสถานะของแข็ง เช่น ทราย คอนกรีต ดิน
2. สารเนื้อผสมสถานะของเหลว เช่น น้ำคลอง น้ำโคลน น้ำจิ้มไก่
3. สารเนื้อผสมสถานะแก๊ส เช่น ฝุ่นละอองในอากาศ เขม่า ควันดำในอากาศ
การแยกสารผสมแต่ละชนิดนั้น ต้องรู้จักเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับสมบัติของสารที่ผสมอยู่ในสารนั้น 

1.การกรอง
เป็นวิธีการแยกสารผสมที่มีสถานะเป็นของแข็งออกจากของเหลว วัสดุที่ใช้กรองที่อยู่หลายชนิด เช่น กระดาษกรอง สำลี ผ้าขาว เช่น การกรองน้ำกะทิ การกรองงสกปรกในน้ำเชื่อม เป็นต้น

2.การกลั่น
เป็นวิธีการแยกสารผสมที่เป็นของเหลวหรือของแข็งที่ละลายเป็นเนื้อเดียวกันโดยใช้สมบัติความแตกต่างของจุดเดือดของสารแต่ล่ะชนิด การกลั่นต้องทำให้สารที่เป็นของเหลวกลายเป็นไอโดยการให้ความร้อน สารที่กลายเป็นไอเมื่อได้รับความเย็นก็จะเกิดความควบแน่นกลั่น ตัวเป็นสารบริสุทธ์สารที่มีจุดเดือดต่ำจะกลั่นตัวออกมาก่อนสารที่มีจุดเดือดสูงกว่า
3.การระเหย

การแยกสารด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับใช้แยกสารผสมที่เป็นของเหลวและมีของแข็งละลายในของเหลว โดยวิธีการระเหยนิยมใช้ในการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล เมื่อน้ำระเหยหมดก็จะได้เกลือนำมาใช้
4.การตกตะกอน
การแยกสารด้วยวิธีนี้เป็นการแยกสารผสมที่เป็นของแข็งที่แขวนลอยอยู่ในของเหลว โดยการตั้งสารผสมนั้นทิ้งไว้ ของแข็งที่อยู่ในของเหลว เป็นสิ่งที่มีน้ำหนัก ดังนั้นเมื่อตั้งทิ้งไว้ก็จะตกตะกอนแยกของจากของเหลว เราจึงสามารถแยกของสารผสมออกจากกันได้ เช่น การแยกแป้งออกจากน้ำแป้ง การแยกดินออกจากน้ำโคลน หรือการใช้สารส้มแกว่งในน้ำเพื่อให้สารแขวนลอยที่อยู่ในน้ำตกตะกอนเป็นต้น
5.การตกผลึก
วิธีนี้เป็นวิธีสำหรับการแยกของผสมที่เป็นของแข็ง โดยการนำของผสมมาละลายด้วยตัวทำ
ละลาย จนสารละลายหมด แล้วทิ้งไว้ สารที่ละลายได้น้อยกว่าจะอิ่มตัวและตกตะกอนออกมาก่อนเช่น เช่น การแยกเกลือโซเดียมคลอไรด์ออกจากน้ำทะเล
6.การกลั่น ลำดับส่วน
วิธีนี้ใช้แยกสารผสมที่เป็นของเหลว ซึ่งของเหลวนี้มีจุดเดือดที่ไม่แตกต่างกันมากนัก จึงไม่สามารถใช้การแยกสารแบบการกลั่นธรรมดาได้ ตัวอย่างการกลั่นแบบลำดับส่วน เช่น การแยกน้ำออกจากแอลกอฮอล์ (น้ำมีจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส แอลกอฮอล์มีจุดเดือด 78.5 องศาเซลเซียส) และการกลั่นน้ำดิบเป็นต้น
7.การระเหิดหรือการระเหยแห้ง
วิธีนี้เหมาะสำหรับการแยกของผสมที่เป็นของแข็งที่ละลายอยู่ในของเหลว เช่น เมื่อนำเกลือแกง
ซึ่งเป็นของแข็งมาละลายในน้ำจะได้ของผสมเนื้อเดียวกัน ถ้าต้องการแยกเกลือแกงออกจากน้ำ ก็กระทำ
ได้โดยนำน้ำเกลือมาให้ความร้อนเพื่อให้น้ำระเหยออกไป สิ่งที่เหลืออยู่ในภาชนะก็คือ เกลือแกงนั่นเอง

8.โครมาโตกราฟฟี
เป็นวิธีแยกสารเนื้อเดียวออกจากกันให้เป็นสารบริสุทธิ์ โดยอาศัยหลักการที่ว่า สารแต่ละชนิดมี
ความสามารถในการละลายต่างกัน และถูกดูดซับต่างกัน จึงทำให้สารแต่ละชนิดแยกออกจากกันได้

1 ความคิดเห็น: