วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พลังงานในชีวิตประจำวันและการอนุรักษ์

พลังงานในชีวิตประจำวันและการอนุรักษ์


1. พลังงานไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้า หมายถึงพลังงานรูปแบบหนึ่งซึ่งสามารถเปลี่ยนไปเป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งได้ เกิดจากแหล่งกำเนิดหลายประเภท ซึ่งการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้จะต้องมีการเชื่อมต่อแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเข้ากับสิ่งที่จะนำพลังงานไฟฟ้าไปใช้ เรียกว่า วงจรไฟฟ้า โดยพลังงานไฟฟ้าที่ได้ก็จะถูกเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานรูปแบบต่างๆ เช่น พลังงานกล พลังงานความร้อน พลังงานเสียง พลังงานแสง เป็นต้น


2.1 แหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้า
แหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้า เป็นส่วนที่ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าในวงจรเพื่อให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นทำงานได้ โดยแหล่งกำเนิดไฟฟ้ามีอยู่หลายแหล่ง ซึ่งแต่ละแหล่งมีหลักการทำให้เกิดและนำมาใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน ดังนี้
1. ไฟฟ้าจากการขัดสี เกิดจากการนำวัสดุต่างชนิดกันมาขัดถูแล้วทำให้เกิดอำนาจอย่างหนึ่ง
ขึ้นมา และสามารถดูดวัตถุอื่นๆที่เบาบางได้ เราเรียกอำนาจนั้นว่า ไฟฟ้าสถิต ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะอยู่ใน
วัตถุได้ชั่ว ขณะหนึ่ง แล้วหลังจากนั้นก็จะค่อยๆเสื่อมลงไปจนสุดท้ายก็หมดไปในที่สุด
2. ไฟฟ้าจากปฏิกิริยาเคมี การเกิดปฏิกิริยาเคมีจะทำให้ประจุไฟฟ้าในสารเคมีนั้นเคลื่อนที่ผ่านตัวนำทำให้เกิดเป็นไฟฟ้ากระแสขึ้นได้ เรานำหลักการนี้ไปประดิษฐ์ถ่านไฟฉาย และแบตเตอรี่รถยนต์
3. ไฟฟ้าจากสนามแม่เหล็ก เกิดขึ้นได้เมื่อมีการหมุนหรือเคลื่อนที่ผ่านขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในขดลวด ซึ่งเรานำหลักการนี้ไปสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เรียกว่าไดนาโม ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ
4. ไฟฟ้าจากแรงกดดัน แร่ธาตุบางชนิดเมื่อได้รับแรงกดดันมากๆจะปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาได้ ซึ่งเรานำแร่ธาตุเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการทำไมโครโฟน หัวเข็มของเครื่องเล่นแผ่นเสียงเป็นต้น
5. กระแสไฟฟ้าจากสัตว์บางชนิด สัตว์น้ำบางชนิดมีกระแสไฟฟ้าอยู่ในตัว เมื่อเราถูกต้องตัวสัตว์เหล่านั้นจะถูกไฟฟ้าจากสัตว์เหล่านั้นดูดได้ เช่น ปลาไหลไฟฟ้า เป็นต้น
6. กระแสไฟฟ้าจากความร้อน เป็นกระแสไฟฟ้าที่ได้จากการนำโลหะไปเผาให้ร้อน


2.2 การเปลี่ยนรูปพลังงาน
โดยปกติพลังงานสามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งได้ ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่น เช่น พลังงานแสงสว่าง พลังงานความร้อนพลังงานกล พลังงานเสียง เป็นต้น บางครั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดยังสามารถ เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปอื่นได้หลายรูปในเวลาเดียวกัน
1. การเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานแสงสว่าง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานแสงสว่าง คือ หลอดไฟ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 หลอดธรรมดาหรือหลอดแบบมีไส้ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปกระเปาะแก้วใส ภายในมีไส้หลอดขดเป็นสปริงบรรจุอยู่ ปัจจุบันทำด้วยโลหะทังสเตนกับออสเมียม ภายในหลอดบรรจุก๊าซไนโตรเจนและอาร์กอน เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไส้หลอดที่มีความต้านทานสูงไส้หลอดจะร้อนจนเปล่งแสงออกมาได้
1.2 หลอดฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดเรืองแสงที่บุคคลทั่วไปเรียกว่าหลอดนีออน มีหลายรูปแบบภายในเป็นสูญญากาศบรรจุไอปรอทไว้เล็กน้อย ผิวด้านในฉาบไว้ด้วยสารเรืองแสง เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไอปรอทอะตอมของปรอทจะคายรังสีอัลตราไวโอเลตออกมา และเมื่อรังสีนี้กระทบกับสารเรืองแสงจะเปล่งแสงสว่าง ปัจจุบันมีการผลิตออกมาหลายรูปแบบ เช่น หลอดซุปเปอร์หรือหลอดผอม หลอดตะเกียบ ซึ่งช่วงประหยัดไฟฟ้าได้ดี
2.การเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานความร้อน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อน ภายในจะมีอุปกรณ์สำคัญ คือ ขดลวดต้านทานหรือขดลวด ความร้อนติดตั้งอยู่ เมื่อไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดนี้จะทำให้เกิดความร้อนขึ้น ขดลวดที่นิยมใช้มากที่สุด คือ ขดลวดนิโครม เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อนได้แก่ เตารีดไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า กาต้มน้ำร้อนไฟฟ้า เครื่องปิ้งขนมปัง ไดเป่าผม เป็นต้น
3. การเปลี่ยนเป็นพลังงานกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล เรียกว่า มอเตอร์ ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ไดนาโม แต่จะทำงานตรงข้ามกับไดนาโมนั้น คือ มอเตอร์จะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล เช่น พัดลม เครื่องปั่น เครื่องดูดฝุ่น เครื่องเล่น VCD ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เป็นต้น
4. การเปลี่ยนเป็นพลังงานเสียง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียงมีอยู่มากมาย เช่น เครื่องรับวิทยุ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง เป็นต้น

2.3 ไฟฟ้าในบ้าน วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย

วงจรไฟฟ้า หมายถึงเส้นทางสำหรับการไหลของกระแสไฟฟ้า โดยเริ่มจากแหล่งกำเนิดผ่านไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วกลับมายังแหล่งกำเนิดอีกครั้ง วงจรไฟฟ้าภายในบ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นการต่อแบบขนาน ซึ่งเป็นการต่อวงจรทำให้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดอยู่คนละวงจร ซึ่งถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งเกิดขัดข้องเนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นก็ยังคงใช้งานได้ตามปกติเพราะไม่ได้อยู่ในวงจรเดียวกัน
ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนทั่ว ไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับมีความต่างศักย์ 220 โวลต์ การส่งพลังงานไฟฟ้าเข้าบ้านจะใช้สายไฟ 2 เส้น คือ
1. สายกลาง หรือสาย N มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์
2. สายไฟ หรือสาย L มีศักย์ไฟฟ้าเป็น 220 โวลต์

โดยปกติสาย L และสาย N ที่ต่อเข้าบ้านจะต่อเข้ากับแผงควบคุมไฟฟ้า ซึ่งเป็นที่ควบคุมการจ่ายพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านอย่างมีระบบ บนแผงควบคุมไฟฟ้ามักจะประกอบด้วย ฟิวส์รวม สะพานไฟรวม และสะพานไฟย่อย โดยสะพานไฟย่อยมีไว้เพื่อแยกและควบคุมการส่งพลังงานไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้าย่อยตามส่วนต่างๆ ของบ้านเรือน เช่น วงจรชั้นล่าง วงจรชั้นบน วงจรในครัว เป็นต้น

2. พลังงานแสง
แสงเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนไปเป็นพลังงานรูปอื่นได้ แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้
แสงเป็นรังสี มีลักษณะการเคลื่อนที่เหมือนคลื่นคือเดินทางเป็นเสน้ ตรงออกจากแหล่งกำเนิดผ่านไปยังตัวกลาง สามารถจำแนกเป็น 3 ชนิด คือ
1. ตัวกลางโปร่งแสง คือตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้ดี แต่ผ่านได้ไม่ทั้งหมด เช่น หมอกควันน้ำขุ่น
2. ตัวกลางโปร่งใส คือตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านไปได้หมด เช่น น้ำใส อากาศ
3. ตัวกลางทึบแสง คือตัวกลางที่แสงผ่านไปไม่ได้เลย เช่น กระเบื้อง กระจกเงา

2.1 แหล่งกำเนิดแสง
คือสิ่งที่ทำให้เกิดแสง สามารถจำแนกประเภทของแสงตามแหล่งกำเนิดได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. แหล่งกำเนิดแสงจากธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ หิ่งห้อย ปลาทะเลบางชนิด เป็นต้น
2. แหล่งกำเนิดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น เนื่องจากโลกของเราไม่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ในเวลากลางคืน มนุษย์จึงคิดค้น ประดิษฐ์สิ่งที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงขึ้นมา เช่น หลอดไฟ ตะเกียง เทียนไข เป็นต้น
แหล่งกำเนิดแสงที่ใหญ่ที่สุดบนโลกของเราคือดวงอาทิตย์ ซึ่งจะแผ่พลังงานออกมารอบๆ และแสงก็เป็นพลังงานรูปหนึ่งในหลายๆรูปแบบที่แผ่มายังโลก
2.2 สมบัติของแสง
แสงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตหลากหลายอย่าง ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา แต่บางครั้งเมื่อเรามองวัตถุกลับพบว่าภาพที่เราเห็นแตกต่างไปจากเดิม ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสมบัติของแสง
1. การสะท้อนของแสง
เป็นสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งของแสง ซึ่งเมื่อแสงมาตกกระทบกับพื้นผิวของวัตถุ แนวการเคลื่อนที่ของแสงจากอากาศไปยังผิวของวัตถุจะเรียกว่า รังสีตกกระทบ ส่วนแนวการเคลื่อนที่ของแสงผ่านผิววัตถุสะท้อนไปยังอากาศเรียกว่า รังสีสะท้อน ซึ่งรังสี 2 เส้น นี้จะอยู่คนละด้านกัน โดยมีเส้นตรงเส้น หนึ่งกั้นอยู่ระหว่างกลาง ซึ่งเส้นตรงนี้จะต้องลากตั้งฉากกับพื้นผิวของวัตถุ ตรงจุดที่แสงมาตกกระทบและสะท้อนกันพอดี เราเรียกเส้นตรงนี้ว่า เส้นปกติ


นอกจากนี้ ระหว่างแนวรังสีตกกระทบ แนวรังสีสะท้อน และเส้นปกติ จะมีมุมเกิดขึ้น 2 มุม คือ
มุมตกกระทบ (θi) และมุมสะท้อน ( θr) ซึ่งเมื่อทำการวัดค่าของมุมตกกระทบกับมุมสะท้อนของผิว วัตถุชนิดต่างๆ พบว่าถ้ารังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติ อยู่ในระนาบเดยี วกัน ค่าของมุมตกกระทบกับมุมสะท้อนจะเท่ากันเสมอเพราะฉะนั้น การเขียนรูปแสดงการสะท้อนแสงของวัตถุต่างๆจึงจำเป็นต้องเขียนรูปให้รังสีตกกระทบ เส้นปกติ และรังสีสะท้อนอยู่ในระนาบเดียวกัน โดยที่มุมตกกระทบจะกางเท่ากับมุมสะท้อนเสมอซึ่งจากการศึกษาพบว่า วัตถุต่างๆจะสะท้อนแสงได้ไม่เท่ากันขึ้น อยู่กับลักษณะพื้นผิวของวัตถุที่
ใช้ในการสะท้อนแสงของวัตถุนั้นๆ โดยวัตถุที่มีผิวเรียบจะสะท้อนได้ดีกว่าวัตถุที่มีผิวขรุขระ และวัตถุ
ที่มีผิวเรียบ เป็นมันวาวก็จะสะท้อนแสงได้ดีกว่าวัตถุผิว ขรุขระที่ไม่เป็นมันวาว
กฎการสะท้อนของแสง
- รังสีตกกระทบ เส้น ปกติ และรังสีสะท้อนจะอยู่บนระนาบเดียวกันเสมอ
- มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อนเสมอ


2. การหักเหของแสง

การหักเหของแสงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นค่าหนึ่งไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นอีกค่าหนึ่ง ทำให้รังสีเบนไปจากแนวเดิม ซึ่งการที่แสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ หรือเบนออกจากเส้นปกติขึ้นอยู่กับค่าดัชนีหักเหของตัวกลางทั้งสอง พิจารณาตามกฎการหักเหของแสง ดังนี้
- แสงเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า รังสีของแสงจะหักเหเบนเข้าหาเส้นปกติ
- แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่าไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า รังสีของแสงจะหักเหเบนออกจากเส้นปกติ

โดยทั่ว ไปค่าความหนาแน่นของตัวกลางที่โปร่งใสจะแปรผันตรงกับค่าดัชนีหักเหของตัวกลางนั้นๆ นั่นคือถ้าวัตถุใดมีความหนาแน่นมาก ค่าดัชนีหักเหของแสงก็จะมากไปด้วย แต่ถ้าวัตถุใดมีความหนาแน่นน้อยก็จะมีค่าดัชนีหักเหน้อย
ค่าดัชนีหักเหแสง α ค่าความหนาแน่น
สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการหักเหของแสง
- ความถี่ของแสงยังคงเท่าเดิม ส่วนความยาวคลื่น และความเร็วของแสงจะไม่เท่าเดิม
- ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงจะอยู่ในแนวเดิม ถ้าแสงตกตั้งฉากกับผิวรอยต่อของตัวกลางจะไม่อยู่ในแนวเดิม ถ้าแสงไม่ตกตั้งฉากกับผิวรอยต่อของตัวกลาง
ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของการหักเหของแสงเช่น แผ่นปิดหน้าโคมไฟ ซึ่งเป็นกระจกหรือพลาสติก เพื่อบังคับทิศทางของแสงไฟที่ออกจากโคมไปในทิศทางที่ต้องการ จะเห็นว่าแสงจากหลอดไฟจะกระจายไปยังทุกทิศทางรอบหลอดไฟแต่เมื่อผ่านแผ่นปิดหน้าโคมไฟแล้ว แสงจะมีทิศทางเดียวกัน เช่นไฟหน้ารถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์
                   3. การกระจายแสง
หมายถึง แสงขาวซึ่งประกอบด้วยแสงหลายความถี่ตกกระทบปริซึมแล้วทำให้เกิดการหักเห ของแสง 2 ครั้ง (ที่ผิวรอยต่อของปริซึม ทั้งขาเข้า และขาออก) ทำให้แสงสีต่าง ๆ แยกออกจากกันอย่างเป็นระเบียบเรียงตามความยาวคลื่นและความถี่ ที่เราเรียกว่า สเปกตรัม (Spectrum)
                    4. การแทรกสอดของแสง (Interference)
การแทรกสอด หมายถึง การที่แนวแสงจำนวน 2 เส้น รวมตัวกันในทิศทางเดียวกัน หรือหักล้างกัน หากเป็นการรวมกัน ของแสงที่มีทิศทางเดียวกัน ก็จะทำให้แสงมีความสว่างมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าหักล้างกัน แสงก็จะสว่างน้อยลด การใช้ประโยชน์จากการแทรกสอดของแสง เช่นกล้องถ่ายรูปเครื่องฉายภาพต่าง ๆ และการลดแสงจากการสะท้อน ส่วนในงานการส่องสว่าง จะใช้ในการสะท้อนจากแผ่นสะท้อนแสง

3. พลังงานเสียง
3.1 การเกิดและการเคลื่อนที่ของเสียง
เสียงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง เกิดจากการสั่น สะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือนมากเสียงจะดังมาก และเมื่อวัตถุสั่นสะเทือนน้อย เสียงก็จะดังน้อย
เสียงเป็นคลื่นกล คือจะต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ ดังนั้นจึงสามารถเคลื่อนที่ผ่านอากาศของแข็งหรือของเหลว แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านสูญญากาศได้ การที่เราได้ยินเสียง เป็นเพราะเสียงเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงผ่านอากาศเข้ามายังหูของเรา ในที่นี้เราจะเห็นว่าตัวกลางที่ทำให้เสียงเคลื่อนที่ได้ก็คืออากาศ
อัตราเร็วเสียง ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวกลางที่เสียงเคลื่อนที่ผ่าน ได้แก่ ความหนาแน่นความยืดหยุ่น เป็นต้น โดยปกติเสียงเดินทางในของแข็งได้ดีที่สุด รองลงมาคือของเหลวและก๊าซนอกจากนี้อัตราเร็วเสียงยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของตัวกลางที่เสียงเคลื่อนที่ผ่าน โดยพบว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น อัตราเร็วเสียงจะมีค่ามากขึ้น
3.2 สมบัติของเสียง
เสียงเป็นคลื่นจึงมีสมบัติของคลื่นทุกประการ คือ
1. การสะท้อนของเสียง
คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเสียงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปตกกระทบสิ่งกีดขวางหรือตัวกลางที่มีความหนาแน่นแตกต่างจากตัวกลางเดิมแล้วเกิดการสะท้อนเข้าสู่ตัวกลางเดิม การสะท้อนจะเกิดได้ดีถ้าความยาวคลื่นของเสียงน้อยกว่าสิ่งกีดขวางการสะท้อนนั้นเป็นไปตามกฎการสะท้อนของคลื่น คือ
1. ทิศทางคลื่นตกกระทบ เส้น ปกติและทิศทางสะท้อนอยู่ในระนาบเดียวกันเสมอ
2. มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน
เมื่อเสียงเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากเสียงจะเกิดการสะท้อนโดยที่คลื่นสะท้อนจะมีเฟสเหมือนเดิม แต่ถ้าเสียงเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยเสียงบางส่วนจะเกิดการสะท้อนโดยที่คลื่นสะท้อนมีเฟสต่างกัน 180 องศา กับคลื่นตกกระทบและจะมีบางส่วนที่ถูกส่งผ่านไปยังตัวกลางใหม่
2. การหักเหของเสียง
เกิดเมื่อเสียงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังตัวกลางชนิดหนึ่ง หรือตัวกลางชนิดเดียวกันแต่อุณหภูมิต่างกัน อัตราเร็วของเสียงเปลี่ยนไปทำให้ทิศทางของคลื่นเสียงเปลี่ยนไปด้วย ยกเว้นเสียงตกกระทบตั้งฉากกับตัวกลางนั้น
3. การแทรกสอดของเสียง
การแทรกสอดเกิดขึ้น เมื่อคลื่นมากกว่าสองคลื่นมากระทำซึ่งกันและกัน แอมพลิจูดของคลื่นทั้งสองคลื่นจะมารวมกันทำให้ความดังของเสียงเปลี่ยนแปลงไป เมื่อมีการแทรกสอดแบบเสริมส่วนอัดของคลื่นจะเกิดที่ตำแหน่งตรงกัน ทำให้แอมพลิจูดรวมเพิ่มขึ้น เสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียงที่ดังมากขึ้นกว่าเสียงเดิม ถ้าการแทรกสอดเป็นแบบหักล้าง ส่วนอัดของคลื่นลูกหนึ่งจะตรงกับส่วนขยายของคลื่นอีกลูกหนึ่งพอดี ทำให้แอมพลิจูดหักล้างกันไป เสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียงค่อย หรือบางครั้งอาจจะไม่ได้ยินเลย
4. การเลี้ยวเบนของเสียง
การเลี้ยวเบน เป็นสมบัติอย่างหนึ่งของคลื่น เสียงสามารถแสดงสมบัติของคลื่นได้ จึงสามารถเลี้ยวเบนผ่านสิ่งกีดขวาง ที่ทึบที่เป็นมุม หรือช่องเล็กๆได้ เสียงที่ตำแหน่งหลังสิ่งกีดขวางจะได้ยินเสียงค่อยกว่า ตำแหน่งที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง เพราะพลังงานของเสียง ณ ตำแหน่งนั้นลดลงปรากฏการณ์ปรากฏการณ์การเลี้ยวเบนของเสียง สามารถอธิบายได้โดยหลักของ "ฮอยเกนส์" ซึ่งกล่าวว่า "ทุกๆจุดบนหน้าคลื่นสามารถทำให้เกิดหน้าคลื่นใหม่ได้"



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น