สิ่งมีชีวิต
1. ลักษณะและการจัดกลุ่มของสิ่งมีชีวิต
ลักษณะของสิ่งมีชีวิต
สิ่งต่าง
ๆ ที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป ทุกคนคงสามารถแยกได้ว่าสิ่งใดเป็นสิมีชีวิต ซากของสิ่งมีชีวิต
หรือสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งนี้เพราะสิ่งมีชีวิตจะต้องมีลักษณะ และกระบวนการของชีวิต ดังนี้
1.
การกินอาหาร สิ่งมีชีวิตต้องการอาหารเพื่อสร้างพลังงาน และการเจริญเติบโต
โดยพืชสามารถสังเคราะห์อาหารขึ้นเองได้ด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งต้องใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เปลี่ยนน้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นน้ำตาล
ส่วนสัตว์ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ต้องกินพืช หรือสัตว์อื่นเป็นอาหาร
2. การหายใจ กระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิตเป็นวิธีการเปลี่ยนอาหารที่กินเข้าไปเป็นพลังงาน
สำหรับใช้ในการเคลื่อนไหว การเจริญเติบโต และการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
สิ่งมีชีวิตทั่วไปใช้แก๊สออกซิเจนในกระบวนการหายใจ
3. การเคลื่อนไหว ขณะที่พืชเจริญเติบโต พืชจะมีการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ เช่น รากเคลื่อนลงสู่พื้นดินด้านล่าง
หรือส่วนยอดของต้นที่จะเคลื่อนขึ้นหาแสงด้านบน สัตว์จะสามารถเคลื่อนไหวได้ทั้งตัวไม่ใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
สัตว์จึงเคลื่อนที่ไปหาอาหาร หรือหลบหนีจากการถูกล่าได้
4. การเจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตทุกชนิดเติบโตได้
พืชเติบโตได้ตลอดชีวิต ส่วนสัตว์หยุดการเจริญเติบโตเมื่อเจริญเติบโตจนมีขนาดถึงระดับหนึ่ง
สิ่งมีชีวิตบางชนิดขณะเจริญเติบโตไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง แต่บางชนิดขณะเจริญเติบโตมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
5. การขับถ่าย เป็นการกำจัดของเสียที่สิ่งมีชีวิตนั้นไม่ต้องการออกจากร่างกาย
พืชจะขับของเสียออกมาทางปากใบ สัตว์จะขับของเสียออกมาในรูปของเหงื่อ ปัสสาวะ และปะปนออกมากับลมหายใจ
6. การตอบสนองต่อสิ่งเร้า
สิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด เช่น พืชจะหันใบเข้าหาแสง สัตว์มีอวัยวะรับความรู้สึกที่แตกต่างกันหลายชนิด
7. การสืบพันธุ์ เป็นกระบวนการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน
เพื่อดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ไว้
ถ้าสิ่งมีชีวิตไม่สืบพันธุ์ก็จะสูญพันธุ์
ร่างกายของสิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำงานร่วมกันของระบบอวัยวะต่าง
ๆหลายระบบ อวัยวะต่าง ๆ ล้วนประกอบจากกลุ่มเนื้อเยื่อที่ทำงานร่วมกัน เนื้อเยื่อแต่ละชนิดประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกันที่ทำงานอย่างเดียวกันดังนั้น
การศึกษากระบวนการต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตให้เข้าใจ จึงต้องอาศัยความรู้จากการศึกษาลักษณะรูปร่าง
โครงสร้าง ส่วนประกอบ และหน้าที่ของเซลล์สิ่งมีชีวิตให้เข้าใจเป็นพื้นฐาน
2. พืช
พืชก็คือสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์อาหารเองได้
ด้วยวิธีการดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์และธาตุอาหาร จากปัจจัยแวดล้อม (โดยเฉพาะ ดิน น้ำ และบรรยากาศ) มาสังเคราะห์แสงเพื่อก่อให้เกิดอินทรีย์วัตถุขึ้น
อินทรียวัตถุส่วนหนึ่งจะถูกนำมาสลายโดยขบวนการหายใจ และเมตาโบลิซึม เพื่อนำพลังงานออกมาใช้ในกิจกรรมต่าง
ๆ อีกส่วนหนึ่งมีการสะสมไว้และถ่ายทอดไป ยังสัตว์ นอกจากนี้ยังมีส่วนที่สะสมในเมล็ด
และส่วนสืบพันธุ์เพื่อการขยายพันธุ์ต่อไป
ส่วนประกอบของพืช
พืชประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งอวัยวะแต่ละส่วนของพืชนั้นมีหน้าที่และส่วนประกอบแตกต่างกัน แต่ทำงานเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันหากขาดอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งไป อาจทำให้พืชนั้นผิดปกติ หรือตายได้ และยังมีปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
ราก คือ
อวัยวะที่เป็นส่วนประกอบของพืชที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ ไม่มีข้อ ปล้อง ตาและใบ รากเจริญเติบโตตามแรงดึงดูดของโลกลงสู่ดิน
มีขนาด และความยาวแตกต่างกัน รากของพืชมีหลายชนิด
ได้แก่
1. รากแก้ว เป็นรากที่งอกอกออกมาจากเมล็ด โคนของรากแก้วจะมีขนาดใหญ่แล้วค่อย ๆ
เรียวไป
จนถึงปลายราก
2. รากแขนง เป็นรากที่แตกออกมาจากรากแก้ว
จะเจริญเติบโตขนานไปกับพื้นดิน และสามารถแตกแขนงไปได้เรื่อย ๆ
3. รากฝอย เป็นรากที่มีลักษณะ และขนาดโตสม่ำเสมอกัน จะงอกออกมาเป็นกระจุก
4. รากขนอ่อนหรือขนราก เป็นขนเส้นเล็ก ๆ จำนวนมากมายที่อยู่รอบๆ ปลายราก ทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุ
รากของพืชสามารถจำแนกได้ 2 ระบบ ได้แก่ ระบบรากแก้วและระบบรากฝอย มีรายละเอียด ดังนี้
1. ระบบรากแก้ว หมายถึง ระบบรากที่มีรากแก้วเป็นรากหลักเจริญเติบโตได้เร็ว ขนาดใหญ่และยาวกว่ารากอื่น
ๆ และมีรากแขนงแตกออกมาจากรากแก้ว ที่ปลายรากแขนงจะมีรากขนอ่อนงอกออกมา เช่น รากผักบุ้ง
รากมะม่วง เป็นต้น
2. ระบบรากฝอย หมายถึง ระบบรากที่มีรากฝอยเป็นจำนวนมาก ไม่มีรากใดเป็นรากหลักมีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ
แผ่กระจายออกไปโดยรอบ ๆ โคนต้น ที่ปลายรากฝอยจะมีรากขนอ่อนงอกออกมา เช่น รากข้าวโพด
รากหญ้า รากมะพร้าว เป็นต้น
หน้าที่ของราก
มีดังนี้
1. ยึดลำต้นยึดลำต้นให้ติดกับพื้นดิน
2. ดูดน้ำ และธาตุอาหารที่ละลายน้ำจากดิน แล้วลำเลียงขึ้นไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช
โดยผ่านทาง
ลำต้นหรือกิ่ง
นอกจากนี้รากพืชอีกหลายชนิดยังทำหน้าที่พิเศษต่าง
ๆ อีก เช่น
1. รากสะสมอาหาร เป็นรากที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสมอาหารไว้สำหรับลำต้น เช่น
รากมันแกว รากแครอท รากมันสำปะหลัง และรากหัวผักกาด เป็นต้น
2. รากค้ำจุน เป็นรากที่ช่วยค้ำยันและพยุงลำต้นไว้ เช่น รากโกงกาง รากข้าวโพด
เป็นต้น
3. รากยึดเกาะ เป็นรากสำหรับยึดเกาะลำต้น หรือกิ่งไม้อื่น เช่น รากพลูด่าง รากฟิโลเดนดรอน เป็นต้น
4. รากสังเคราะห์แสง พืชบางชนิดมีสีเขียวตรงปลายของรากไว้สำหรับสร้างอาหาร โดย
วิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น รากกล้วยไม้ รากไทร เป็นต้น
5. รากหายใจ เป็นรากที่มีลักษณะแหลม ๆ โผล่ขึ้นมาเหนือดินและน้ำช่วยในการดูดอากาศ
เช่น รากแสม รากลำพู เป็นต้น
ลำต้น
ลำต้น
คือ อวัยวะของพืชที่โดยทั่วไปเจริญอยู่เหนือพื้นดินต่อจากราก มีขนาด รูปร่าง และลักษณะแตกต่างกันไป
ลำต้นมีทั้งลำต้นอยู่เหนือดิน เช่น มะละกอ มะม่วง มะนาว ชมพู่ เป็นต้น และลำต้นอยู่ใต้ดิน
เช่น ขิง ข่า ขมิ้น กล้วย หญ้าแพรก พุทธรักษา เป็นต้น
ลำต้นประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ข้อ ปล้อง และตา ดังนี้
1. ข้อ เป็นส่วนของลำต้นบริเวณที่มีกิ่งใบหรือตางอกออกมา ลำต้นบางชนิดอาจมีดอกงอกออกมาแทนกิ่ง
หรือมีหนามงอกออกมาแทนกิ่งหรือใบ
2. ปล้อง เป็นส่วนของลำต้นที่อยู่ระหว่างข้อแต่ละข้อ
3. ตา เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของลำต้น ทำให้เกิดกิ่ง ใบ และดอก ตามีรูปร่างโค้งนูน
หรือรูปกรวย ประกอบด้วยตายอด และตาข้าง
นอกจากนี้ลำต้นของพืชอีกหลายชนิดยังทำหน้าที่พิเศษต่าง
ๆ อีก เช่น
1. ลำต้นสะสมอาหาร เป็นลำต้นที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสมอาหาร จะมีลำต้นอยู่ใต้ดิน
เช่น ขิง ข่า ขมิ้น เผือก มันฝรั่ง เป็นต้น
2. ลำต้นสังเคราะห์แสง พืชบางชนิดมีลำต้นเป็นสีเขียวไว้สำหรับสร้างอาหาร โดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง
เช่น กระบองเพชร พญาไร้ใบ ผักบุ้ง เป็นต้น
3. ลำต้นขยายพันธ์ เช่น โหระพา พลูด่าง โกสน คุณนายตื่นสาย ลีลาวดี เป็นต้น
4. ลำต้นเปลี่ยนไปเป็นมือพัน เพื่อช่วยพยุงค้ำจุนลำต้น เช่น บวบ ตำลึง เต้า เป็นต้น
ใบ
ใบ คือ
อวัยวะของพืชที่เจริญออกมาจากข้อของลำต้นและกิ่ง ใบส่วนใหญ่จะมีสารสีเขียว เรียกว่า
คลอโรฟิลล์ ใบมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช ใบประกอบด้วย ก้านใบ แผ่นใบ
เส้นกลาง และเส้นใบ
นอกจากนี้ใบของพืชยังมีลักษณะอื่นๆ
ที่แตกต่างกันอีก ได้แก่
1. ขอบใบ พืชบางชนิดมีขอบใบเรียบ บางชนิดมีขอบใบหยัก
2. ผิวใบ พืชบางชนิดมีผิวใบเรียบเป็นมัน บางชนิดมีผิวใบด้านหรือขรุขระ
3. สีของใบ พืชส่วนใหญ่จะมีใบสีเขียว แต่บางชนิดมีใบสีอื่น เช่น แดง ส้ม เหลือง
เป็นต้น
4. เส้นใบเส้น ใบของพืชมีการเรียงตัวใน 2 ลักษณะ ได้แก่
1. เรียงตัวแบบร่างแห เช่น
ใบมะม่วง ตำลึง อัญชัน ชมพู่ เป็นต้น
2. เรียงตัวแบบขนาน เช่น
ใบกล้วย หญ้า อ้อย มะพร้าว ข้าว เป็นต้น
ชนิดของใบ มีดังนี้
1. ใบเดี่ยว คือ ใบที่มีแผ่น ใบเพียงแผ่น เดียวติดอยู่บนก้านใบที่แตกออกจากกิ่ง
หรือลำต้น เช่น
ใบมะม่วง ชมพู่
กล้วย ข้าว ฟักทอง ใบเดี่ยว บางชนิดอาจมีขอบใบเว้าหยักลึกเข้าไปมากจนดูคล้าย ใบประกอบ
เช่น ใบมะละกอ สาเก มันสำปะหลัง เป็นต้น
2 ใบประกอบ คือ ใบที่มีแผน ใบแยกเป็นใบย่อยๆ หลายใบ ใบประกอบยังจำแนกย่อย ได้ดังนี้
1) ใบประกอบแบบฝ่ามือ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากจุดเดียวกันที่ส่วนของโคนก้านใบ
พืชบางชนิดอาจมีใบย่อยสองใบ เช่น มะขามเทศ หรือสามใบ เช่น ยางพารา ถั่วเหลืองถั่วฝักยาว
บางชนิดอาจมีสี่ใบ เช่น ผักแว่น หรือมากกว่าสีใบ เช่น ใบนุ่น หนวดปลาหมึก ใบย่อยดังกล่าวอาจมีก้านใบหรือไม่มีก็ได้
2) ใบประกอบแบบขนนก เป็นใบประกอบที่ใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากก้านสองข้างของ
แกนกลางคล้ายขนนก
ปลายสุดของใบประกอบอาจมีใบย่อยใบเดียว เช่น ใบกุหลาบ หรืออาจมีใบย่อยสองใบ เช่น ใบมะขาม
หน้าที่ของใบ
มีดังนี้
1. สร้างอาหาร ใบของพืชจะดูดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อนำไปสร้างอาหาร เรียกกระบวน
การสร้างอาหารของพืชว่า
การสังเคราะห์ด้วยแสง
2. คายน้ำพืชคายน้ำทางปากใบ
3. หายใจ ใบของพืชจะดูดแก๊สออกซิเจนและคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
นอกจากนี้ใบยังอาจเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่พิเศษอื่น
ๆ เช่น
1. สะสมอาหาร เช่น ใบว่านหางจระเข้ กลีบของกระเทียม และหัวหอม เป็นต้น
2. ขยายพันธุ์ เช่น ใบคว่ำตายหงายเป็น ใบเศรษฐีพันล้าน เป็นต้น
3. ยึดและพยุงลำต้นให้ไต่ขึ้นที่สูงได้ เช่น ใบตำลึง ใบมะระและถั่วลันเตา เป็นต้น
4. ล่อแมลง เช่น ใบดอกของหน้าวัว ใบดอกของเฟื่องฟ้า เป็นต้น
5. ดักและจับแมลง ทำหน้าที่จับแมลงเป็นอาหาร เช่น ใบหม้อข้าวหม้อแกงลิง ใบกาบหอยแครง
เป็นต้น
6. ลดการคายน้ำของใบ เช่น ใบกระบองเพชรจะเปลี่ยนเป็นหนามแหลม เป็นต้น
ดอก
ดอก คือ
อวัยวะสืบพันธุ์ของพืช ทำหน้าที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ที่เกิดมาจากตาชนิดตาดอกที่อยู่ตรงบริเวณปลายยอด
ปลายกิ่ง บริเวณลำต้นตามแต่ชนิดของพืช ดอกประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
ดอกประกอบด้วยส่วนต่าง
ๆ
4 ส่วน แต่ละส่วนจะเรียงเป็นชั้นเป็นวงตามลำดับจากนอกสุดเข้าสู่ด้านใน
คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย ดังนี้
1. กลีบเลี้ยง เป็นส่วนของดอกที่อยู่ชั้นนอกสุดเรียงกันเป็นวง เรียกว่า วงกลีบเลี้ยง
ส่วนมากมีสีเขียว เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากใบ ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อม
แมลง และศัตรูอื่นๆ ที่จะมาทำอันตรายในขณะที่ดอกยังตูมอยู่ นอกจากนี้ยังช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง
จำนวนกลีบเลี้ยงในดอกแต่ละชนิดอาจไม่เท่ากัน ดอกบางชนิดกลีบเลี้ยงจะติดกันหมดตังแต่โคนกลีบจนเกือบถึงปลายกลีบ
มีลักษณะคล้ายถ้วยหรือหลอด เช่น กลีบเลี้ยงของดอกชบา แตง บานบุรี แค บางชนิด มีกลีบเลี้ยงแยกกันเป็นกลีบ
ๆ เช่น กลีบเลี้ยงของดอกบัวสาย พุทธรักษา กลีบเลี้ยงของพืชบางชนิดอาจมีสีอื่นนอกจากสีเขียว
ทำหน้าที่ช่วยล่อแมลงในการผสมเกสรเช่นเดียวกับกลีบดอก
2.
กลีบดอก เป็นส่วนของดอกที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้ามาข้างใน มีสีสันต่าง
ๆ สวยงาม เช่น สีแดง เหลือง ชมพู ขาว มักมีขนาดใหญ่กว่ากลีบเลี้ยง บางชนิดมีกลิ่นหอม
บางชนิดตรงโคนกลีบดอกจะมีต่อมน้ำหวานเพื่อช่วยล่อแมลงมาช่วยผสมเกสร
3.
เกสรเพศผู้ เป็นส่วนของดอกที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้ามาข้างใน ประกอบด้วยก้านชูอับเรณูซึ่งภายในบรรจุละอองเรณูมีลักษณะเป็นผงสีเหลือง
อับเรณูทำหน้าที่สร้างละอองเรณู ภายในละอองเรณูมีเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้
4.
เกสรเพศเมีย เป็นส่วนของดอกที่อยู่ชั้นในสุด ประกอบด้วยยอดเกสรเพศเมีย
ก้านยอดเกสรเพศเมีย รังไข่ ออวุล และเซลล์ไข่
ชนิดของดอก
มีดังนี้
ดอกของพืชโดยทั่วไปมีส่วนประกอบที่สำคัญครบ 4 ส่วน คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย แต่ดอกของพืชบางชนิดมีส่วนประกอบไม่ครบ
4 ส่วน จึงจำแนกดอกเป็น 2 ประเภท
โดยพิจารณาจากส่วนประกอบเป็นเกณฑ์
ได้แก่
1.
ดอกสมบูรณ์ คือ ดอกที่มีส่วนประกอบครบ 4 ส่วน ได้แก่
กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย เช่น ดอกชบา ดอกกุหลาบ ดอกอัญชัน เป็นต้น
2.
ดอกไม่สมบูรณ์ คือ ดอกที่มีส่วนประกอบไม่ครบ 4 ส่วน เช่น ดอกหน้าวัว ดอกตำลึง ดอกฟักทอง ดอกมะละกอ เป็นต้น
ถ้าพิจารณาเกสรของดอกที่ทำหน้าที่สืบพันธุ์เป็นเกณฑ์
จะจำแนกดอกเป็น
2 ประเภท ได้แก่
1.
ดอกสมบูรณ์เพศ คือ ดอกที่มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
เช่น ดอกชบา ดอกมะม่วง ดอกต้อยติ่ง ดอกอัญชัน ดอกมะเขือ เป็นต้น
2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือ ดอกที่มีเกสรเพศผู้หรือเกสรเพศเมียอยู่ภายในดอกเพียงเพศเดียวดอกที่มีเกสรเพศผู้อย่างเดียว
เรียกว่า ดอกเพศผู้ และดอกที่มีเกสรเพศเมียอย่างเดียว เรียกว่า ดอกเพศเมีย เช่น ดอกฟักทอง
ดอกบวบ ดอกตำลึง ดอกมะละกอ เป็นต้น
แต่ถ้าพิจารณาจำนวนดอกที่เกิดจากหนึ่งก้านดอกเป็นเกณฑ์
จะจำแนกดอกออกเป็น
2 ประเภท ได้แก่
1. ดอกเดี่ยว คือ ดอกที่เกิดขึ้นบนก้านดอก เป็นดอกเดียวโดด ๆ เช่น ดอกจำปี ดอกชบา
เป็นต้น
2. ดอกช่อ คือ ดอกที่เกิดเป็นกลุ่มบนก้านดอก ประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก แต่ละดอกย่อย
มีก้านดอกย่อยอยู่บนก้านดอก
เช่น ดอกหางนกยูง ดอกกล้วยไม้ ดอกทานตะวัน ดอกกระถินณรงค์ เป็นต้น
หน้าทีของดอก
มีดังนี้
1. ช่วยล่อแมลงให้มาผสมเกสร
2. ทำหน้าที่ผสมพันธุ์
3.
สัตว์
สัตว์แต่ละชนิดที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ
มีลักษณะโครงสร้างภายนอก และภายในแตกต่างกันทำให้เราสามารถจำแนกประเภทของสัตว์ออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
1..
สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
2.
สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตเพราะเคลื่อนที่ได้ กินอาหารได้ หายใจได้ ขับถ่ายได้
และสามารถขยายพันธุ์ออกลูกออกหลานได้ ทำให้สัตว์มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก ในโลกของเรามีสัตว์จำนวนมากมายหลายชนิด
สัตว์แต่ละชนิดมีธรรมชาติ และมีการดำรงชีวิตแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างภายนอกและลักษณะ
โครงสร้างภายในของสัตว์นั้น
ประเภทของสัตว์
แบ่งออกเป็น
2 ประเภทคือ
สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
เป็นสัตว์ที่มีกระดูกต่อกันเป็นข้อ
ๆ กระดูกเหล้าทำหน้าที่เป็นแกนของร่างกาย ตัวอย่างสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
ปลา
เป็นสัตว์น้ำ อาศัยอยู่ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลามีรูปร่างเรียวยาว เพื่อให้สะดวกในการเคลื่อนที่ในน้ำ
ลำตัวของปลามีเกล็ดหรือเมือกปกคลุม ปลาหายใจโดยใช้เหงือก ปลาส่วนใหญ่ออก ลูกเป็นไข่
เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาทู เป็นต้น แต่ปลาบางชนิดออกลูกเป็นตัวเช่น
ปลาหางนกยูง ปลาเข็ม ปลาสอด ปลาฉลาม (บางพันธุ์) ครีบหางและครีบข้างลำตัวปลา ช่วยให้ปลา เคลื่อนที่ไปในแนวต่าง ๆ ได้
กบ อึ่งอ่าง
คางคก เขียด เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ตอนเป็นไข่อยู่ในน้ำต่อมาไข่เจริญเติบโตเป็น
ตัวอ่อนที่เรียกว่า “ลูกอ๊อด” ซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจโดยใช้เหงือก ขณะลูกอ๊อดอยู่ในน้ำ
เคลื่อนที่โดยใช้หางว่ายน้ำ เมื่อลูกอ๊อดเจริญเติบโตขึ้น ส่วนหางจะหายไป และมีขา
4 ขา เกิดขึ้น รูปร่างเหมือนตัวแม่โดยทั่วไปแต่มีขนาดเล็ก และขึ้นมาอาศัยบนบก
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วจะหายใจโดยใช้ปอดและผิวหนัง
จระเข้
เต่า งู จิ้งจก เป็นสัตว์เลื้อยคลานอาศัยอยู่บนบก มีหนังปกคลุมลำตัวเป็นเกล็ดแข็งและแห้งหายใจโดยใช้ปอด
สัตว์เหล่านี้ออกลูกเป็นไข่ ซึ่งมีเปลือกแข็ง หรือเปลือกเหนียวนิ่มหุ้ม
นก
เป็ด ไก่ ห่าน เป็นสัตว์ปีก อาศัยอยู่บนบก มีขา 2 ขาและมีปีก
2 ปีก เพื่อใช้บิน ลำตัวปกคลุมด้วยขนที่มีการหายใจโดยใช้ปอด สัตว์เหล่านี้ออกลูกเป็นไข่
ที่มีเปลือกแข็งหุ้ม
มนุษย์
ลิง สุนัข ค้างคาว วาฬ โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพราะสัตว์ตัวเมียจะมีต่อมสร้างน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก
ลำตัวปกคลุมด้วยขนที่เป็นเส้น หายใจโดยใช้ปอด สัตว์เหล่านี้ออกลูกเป็นตัว ลักษณะโครงกระดูกของลิง
คล้ายโครงกระดูกของมนุษย์
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกเป็นแกนของร่างกาย
สัตว์บางชนิดจึงสร้างเปลือกแข็งขึ้นมาห่อหุ้มร่างกายเพื่อป้องกันอันตราย ตัวอย่างสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
คือ
พยาธิ
เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวยาวรูปร่าง กลม หรือ แบน พยาธิส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ต่าง
ๆ และดูดเลือดจากสัตว์เหล่านั้นเป็นอาหาร
กุ้ง
กั้ง ปู เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีสารเป็นเปลือกแข็งหุ้มลำตัว ลำตัวแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนหัว และส่วนท้อง ที่ส่วนหัวมีตา 1 คู่ มีขนาดใหญ่ที่ส่วนท้อง
มีขาที่มีลักษณะต่อกันเป็นข้อ สำหรับใช้เดิน ว่ายน้ำ หรือช่วยในการกินอาหาร
แมลง
เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีสารเป็นเปลือกแข็งหุ้มลำตัว เช่นเดียวกับพวกกุ้ง กั้ง
ปู แต่ลำตัวของแมลงแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง
ที่ส่วนหัวมีตา 1 คู่ มีหนวดที่ส่วน อกมีขาต่อกันเป็นข้อ ๆ จำนวน
3 คู่ (6 ขา) สำหรับ เดิน
วิ่ง กระโดด หรือจับอาหารกิน
หอย
จัดเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม มีสารจำพวกหินปูน เป็นเปลือกแข็งหุ้ม
ลำตัว หอยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำ หอยที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด เช่นหอยกาบ หอยโข่ง หอยขม
หอยที่อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม เช่นหอยแครง หอยแมลงภู่ หอยกะพง เป็นต้น ส่วนหอยบางชนิดอาศัยอยู่บนบก
เช่นหอยทาก
ปลาหมึกทะเล
เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีลำตัว อ่อนนุ่ม รูปร่างเรียวยาว ส่วนท้ายของลำตัวมีหนวดสำหรับว่ายน้ำ
ในลำตัวของหมึกทะเล อาจมีแผ่นแข็ง ๆ เรียกว่าลิ้นทะเล ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกายหมึก
สัตว์ในโลกแบ่งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
สัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยแตกต่างกันสัตว์บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำ สัตว์บางชนิดอาศัยอยู่บนบก
สัตว์บางชนิดอาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ สัตว์เหล่านี้ เมื่อเกิดและมีชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำอย่างอิสระตามธรรมชาติเราจัดเป็นสัตว์ป่า
ส่วนสัตว์บ้าน หรือสัตว์ป่าที่คนนำมาเลี้ยงจนเชื่อง เราเรียกว่า สัตว์เลี้ยง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น