1. ความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น
ระบบนิเวศ (Ecosystem)
หมายถึง ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดในโลกเรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิต
ระบบนิเวศจะประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 2 อย่างคือ
1.
องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component) ได้แก่
สารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์(abiotic substanc ) สารประกอบอินทรีย์
เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ส่วนสารประกอบ
อนินทรีย์ เช่น น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ , สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (abiotic environment) เช่น
อนินทรีย์ เช่น น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ , สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (abiotic environment) เช่น
อุณหภูมิ
แสงสว่าง ความกดดัน
2. องค์ประกอบทีมีชีวิต (biotic components) ได้แก่ ผู้ผลิต
(producer) ผู้บริโภค
( consumer)และผู้ย่อยสลาย(decomposer)
ประเภทของระบบนิเวศ
1. ระบบนิเวศบนบก ได้แก่ ระบบนิเวศทะเลทราย ระบบนิเวศแบบทุ่งหญ้า ระบบนิเวศป่าดิบชื้น
ระบบนิเวศแบบป่าผลัดใบเขตอบอุ่น ระบบนิเวศแบบป่าสน ระบบนิเวศแบบทุนดรา
2. ระบบนิเวศในน้ำ ได้แก่ ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืดระบบนิเวศแหล่งน้ำเค็ม ระบบนิเวศแหล่งน้ำกร่อย
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต
ในระบบนิเวศ มี
2 แบบ คือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ซึ่งก่อให้เกิดทั้งผลดี และผลเสีย
- ผลดี คือ สร้างความเข้มแข็งและความปลอดภัยในกลุ่ม
- ผลเสีย
คือ แก่งแย่งอาหาร แย่งชิงการเป็นจ่าฝูง
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่
2 ชนิดขึ้นไปในแหล่งที่อยู่เดียวกัน มีความสัมพันธ์หลายรูปแบบ ได้แก่
ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน
(protocoopera) สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ฝ่ายต่างได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่
เช่น ผึ้งกับดอกไม้ เพลี้ย กับมดดำ นกเอียงกับควาย
ภาวะพึ่งพากัน (mutualism)
สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน แต่ต้องอยู่ร่วมกันตลอดเวลา
หากแยกกันอยู่จะทำให้อีกฝ่าย ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น ไลเคน โพรโทซัวในลำไส้
ปลวก แบคทีเรียในปมรากพืชตระกูลถั่ว
ภาวะอิงอาศัย
(commensalism) สิ่งมีชีวิตฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ และไม่เสียประโยชน์
แยกกันอยู่ได้ เช่น เถาวัลย์เกาะบนต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้กับต้นสัก นกทำรังบนต้นไม้เหาฉลามกับปลาฉลาม
เพรียงที่เกาะบนตัวของสัตว์
2. ห่วงโซ่อาหาร (Food Chain)
หมายถึง
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเรื่องของการกินต่อกันเป็นทอด ๆ จาก ผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค
ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากการกินต่อกันตัวอย่าง เช่น
จากแผนภาพ
จะสังเกตเห็นว่า การกินต่อกันเป็นทอด ๆ ในห่วงโซ่อาหารนี้ เริ่มต้นที่ต้นข้าว ตามด้วยตั๊กแตนมากินใบของต้นข้าว
กบมากินตั๊กแตน และเหยี่ยวมากินกบ ซึ่งจากลำดับขั้นในการกินต่อกันนี้
ในการเขียนโซ่อาหาร
ให้เขียนเริ่มจากผู้ผลิต อยู่ทางด้านซ้าย และตามด้วยผู้บริโภคลำดับที่ผู้บริโภคลำดับที่
ผู้บริโภคลำดับที่ต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงผู้บริโภคลำดับสุดท้าย และเขียนลูกศรแทนการถ่ายทอดพลังงานจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่ง
หรือเขียนให้หัวลูกศรชี้ไปทางผู้ล่า และปลายลูก ศรหันไปทางเหยื่อนั้นเอง
สายใยอาหาร (Food Web)
หมายถึง
ห่วงโซ่อาหารหลาย ๆ ห่วงโซ่ ที่มีความคาบเกี่ยว หรือสัมพันธ์กันนั้น คือในธรรมชาติการกินต่อกันเป็นทอด
ๆ ในโซ่อาหาร จะมีความซับซ้อนกันมากขึ้นคือ มีการกินกันอย่างไม่เป็นระเบียบ
จากแผนภาพสายใยอาหารด้านบน
จะสังเกตเห็นได้ว่า ต้นข้าวที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศนั้นสามารถถูกสัตว์หลายประเภทบริโภคได้
คือ มีทั้งวัว ตั๊กแตน ไก่และผึ้ง สัตว์ที่เป็นผู้บริโภคลำดับที่เหล่านั้น ก็สามารถจะเป็นเหยื่อ
ของสัตว์อื่นและยังเป็นผู้บริโภคสัตว์อื่นได้เช่นกัน อาทิเช่น ไก่สามารถจะบริโภคตั๊กแตนได้
และในขณะเดียวกันไก่ก็มีโอกาสที่จะถูกงูบริโภคได้เช่นกัน
การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ
ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานสำหรับโลกของสิ่งมีชีวิต
กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตจะเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานที่สะสมไว้ในโมเลกุลของสารอาหาร
โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ผลผลิตเบื้องต้น คือ กลูโคส ในกระบวนการนี้มีแก๊สออกซิเจนปล่อยออกสู่บรรยากาศ
พลังงานในโมเลกุลของสารอาหารจะถ่ายทอดจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคลำดับต่างๆ จนถึงผู้ย่อยสลายอินทรีย์สารซึ่งพลังงานจะมีค่าลดลงตามลำดับ
เพราะส่วนหนึ่งถูกใช้ในการผลิตพลังงานให้แก่ร่างกายโดยกระบวนการหายใจ อีกส่วนหนึ่งสูญเสียไปในรูปของพลังงานความร้อน
ดังนั้นลำดับการถ่ายทอดพลังงานในโซ่อาหารจึงมีความยาวจำกัด โดยปกติจะสิ้นสุดที่ผู้บริโภคลำดับ 4 - 5 เท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น